แนวรับ(Support) คือ จุดที่เป็นจุดกลับตัวของกราฟ แล้วราคาได้ลงมาทดสอบอีกครั้ง เราจะใช้จุดนั้นเป็นแนวรับ ถ้าราคาลงมาทดสอบจุดนั้นแล้วไม่สามารถผ่านลงไปได้ แนวรับนั้นจะกลายเป็นแนวรับที่แข็งแกร่ง (Strong Support) โดยราคาจะลงมาทดสอบอย่างน้อย 2 ครั้ง (Double Bottom) หรือ 3 ครั้ง (Triple Bottom) ถ้าราคาไม่สามารถผ่านแนวรับเหล่านี้ได้ มันก็จะกลับตัวขึ้นไปอีกครั้ง
แนวรับมีอยู่ 2 แบบ คือ 1.แนวรับหลัก( Major Support ) 2. แนวรับรอง (Minor Support)
แนวรับหลัก(Major Support)จะเป็นจุดกลับตัวของกราฟ จากแนวโน้มขาลงกลายเป็นขาขึ้น ส่วนแนวรับรอง(Minor Support) จะเป็นจุดสูงสุดหรือ ต่ำสุดของกราฟ ที่เกิดการสวิงของราคา
ภาพตัวอย่างแนวรับ
แนวต้าน (Resistance) คือ จุดที่เป็นจุดกลับตัวของกราฟแล้วราคากลับขึ้นไปทดสอบอีกครั้ง ถ้าราคาทดสอบจุดที่เป็นแนวต้านแล้วไม่ผ่านสามารถผ่านได้ จุดนั้นจะกลายเป็น แนวต้านที่แข็งแกร็ง (Strong Resistance) โดยที่ราคาจะไปทดสอบ 2 ครั้ง( Double Top ) หรือ 3 ครั้ง(Triple Top )
แนวต้านก็แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ Major Resistance และ Minor Resistance
ภาพตัวอย่าง แนวต้าน Resistance
ต่อไปเรามาดูกันครับ ว่าเราจะสามารถหาแนวรับแนวต้านได้จากอะไรบ้าง ผมจะแบ่งออกเป็น 4 ประเภทนะครับ
1. การหาแนวรับ-แนวต้าน จาก จุดสูงสุด High และ จุดต่ำสุด Low เก่าๆจุดกลับตัวของกราฟ
ดูจากรูปกันเลยครับ
ดูแนวรับแนวต้านของEUR จากราคาปัจจุบันกันเลยครับ
จะสังเกตว่า จุดกลับตัว และจุดสูงสุด และต่ำสุดของกราฟในอดีตสามารถใช้เป็นแนวรับและแนวต้านได้
2.หาแนวรับแนวต้านจากการคำนวณ
เราจะใช้ราคาปิด(Close) ราคาสูงสุด ( High) และ ราคาต่ำสุด (Low) ของเมื่อวานมาคำนวณครับ
โดยเอาเม้าไปชี้้ที่แท่งเทียน Daily ครับ ดังรูป
เมื่อได้ค่าแล้วก็นำมาใส่สูตรดังนี้ครับ C=Close H=High L=Low
P=Pivot
S=Support
R=Resistance
Calculate
P=(H+L+C)/3
นำ P มาคำนวนหา แนวรับและแนวต้าน
Support แนวรับ
S1=P-0.382(H-L)
S2=P-0.500(H-L)
S3=P-0.618(H-L)
Resistance แนวต้าน
R1=P+0.382(H-L)
R2=P+0.500(H-L)
R3=P+0.618(H-L)
ตัวอย่างการคำนวน แนวรับแนวต้านของอียู กราฟวันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม 2553
จากกราฟราคาของวันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน 2553 ราคาต่ำสุด L=1.3559 ราคาสูงสุด H= 1.3683 ราคาปิด C=1.3633
P=(1.3683+1.3559+1.3633)/3 = 1.3625 , H-L=0.0124
S1=1.3625-0.382(0.0124)=1.3577
S2=1.3625-0.500(0.0124)=1.3563
S3=1.3625-0.618(0.0124)=1.3548
R1=1.3625+0.382(0.0124)=1.3672
R2=1.3625+0.500(0.0124)=1.3687
R3=1.3625+0.618(0.0124)=1.3701
เมื่อได้ค่าแล้วก็จดบันทึกไว้ หรือเอาไปติดไว้บนกราฟก็ได้ โดยใช้เครื่องมือ Horizontal Line ใส่ราคาลงไป จะได้ดังรูป
อีกหนึ่งวิธีคือ ใช้เว็บคำนวนครับ
http://www.pivotpointcalculator.com/
http://www.actionforex.com/markets/pivot-points/standard-pivot-points-2010040848154/
Actionforex เป็นเว็บที่ให้ความรู้ได้ดีครับ ผมศึกษาวิธีการวิเคราะห์กราฟ ลากเทรนไลน์จาก บทวิเคราะห์ของ Actionforex
3. หาแนวรับ-แนวต้านจาก Fibonacci
หาแนวรับแนวต้านจาก Fibonacci Retrace
การหาแนวรับ จาก Fibonacci Retracement ก่อนอื่นเลยเราต้องใช้ Fibonacci วัดจาก Low ไปหา
High ของคลื่นปัจจุบัน แล้วหาแนวรับจากระดับการปรับฐานของ Fibonacci ที่ ระดับ 78.6 61.8 50.0 38.2 23.6 และ 0 % ดังรูป
และแนวต้านที่อยู่เหนือระดับ Fibonacci 100 % แนวต้านจะอยู่ที่ระดับ 138.2, 161.8 ,261.8,และ 423.6 % ดังรูปด้านล่าง
หาแนวต้านจาก Fibonacci Retracement โดยการวัดขาลง
- หาแนวรับแนวต้านจาก Fibonacci Fan
ดูรูปด้านล่างนะครับ
ตัวอย่างการใช้ Fibonacci Fan วัดหาราคาแนวรับ(ราคาปรับฐาน)ของราคาขาขึ้น
ตัวอย่างใช้ Fibonacci Fan เพื่อหาแนวต้านของราคาขาลง (ราคาปรับฐาน)
Fibonacci Fan เปรียบเสมือนเส้นแนวโน้ม แต่เป็นเส้นแนวโน้มที่ระดับต่างๆของ Fibonacci
4. การหาแนวรับแนวต้าน โดยใช้ Trendline
เทรนไลน์ เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ใช้หาแนวรับแนวต้านได้ดีทีเดียว โดยแนวต้านที่ได้จากการลากเทรนไลน์ เราจะเรียกว่า Resistance Trendline และแนวรับที่ได้จากการลากเทรนไลน์เราจะเรียกว่า Support Trendline
การหาแนวรับจาก Support Trendline
การหาแนวรับจาก Trendline เราจะวัดจากจุดต่ำสุดเก่า เทียบกับจุดกับต่ำสุด ณ ปัจจุบัน
ตัวอย่างการลากเทรนไลน์เพื่อหา Support Trendline (แนวรับ )
ตัวอย่างการหาแนวต้านจากการลากเทรนไลน์ (Resistance Trendline)
ลองฝึกการลากเทรนไลน์นะครับ แล้ว เพื่อนๆจะรู้ว่า แค่เทรนไลน์ก็สามารถทำให้เราเทรดได้ ทำให้เรารู้ว่า จุดกลับตัวอยู่ตรงไหน แนวรับแนวต้านอยู่ตรงไหน ลองศึกษาจากเว็บต่างประเทศ หรือจาก Youtube ก็ได้นะครับ Keyword : Trendline
ความรู้เพิ่มเติ่ม
ศึกษาระบบแนวรับแนวต้านได้ที่นี่คลิ๊ก
เลือกแนวรับแนวต้านอย่างไรดี?